ขนาดความหนาของกระจกเลือกใช้อย่างไร?

หลายครั้งเราอาจสงสัยว่า ทำไมต้อง ทำกระจก 6 มิลลิเมตร ซึ่งมีราคาแพงกว่า 5 มิลลิเมตร เราสามารถใช้กระจกที่มีความหนาอื่นๆได้ไหม แล้ว กระจก ความหนา เท่านี้ ควรใช้กับอะไรบ้างไม่ควรใช้กับส่วนไหน กระจก 5-6 มิลลิเมตร ใช้ส่วนนี้จะแตกไหม ทำไมต้องใช้ 10 มิลลิเมตร จำเป็นไหม

การเลือกกระจกหนาก็มีส่วนช่วยในหลายๆด้านเช่นกัน เช่น การที่อาคารเลือกใช้กระจก หนาแบบ 10 มิลลิเมตร ยิ่ง ความหนากระจกมากขึ้น เราสามารถกันความร้อนได้มากขึ้น และ มากไปกว่านั้น เราสามารถเลือกแบบสีได้ สีชาดำ หรือ สีอื่นๆ ให้เหมาะกับตัวอาคาร ทั้งยังสามารถ ลด รังสี UV ที่เข้ามาในตัวอาคารได้อีกด้วย ทั้ง ยังสามารถประหยัดไฟฟ้าไม่ว่าจะเป็น แอร์ หรือ ส่วนทำความเย็นอื่นๆ และ ยิ่งกระจกหนาจะทำให้เรารู้สึกว่า ปลอดภัย กว่าการที่เราจะเลือกกระจก แค่ 5-6 มิลลิเมตร



กระจกที่ใช้ทำประตูหน้าต่าง

กระจกที่ใช้ทำปรูตะหน้าต่าง จะใช้ขนาดคล้ายๆ กระจกที่ใช้ทำหน้าบานตู้ แบบ เปลือย หรือไม่มีกรอบ จะใช้ ประมาณ 10 มิลลิเมตร ขึ้นไป ส่วน ถ้ามีกรอบ อลูมิเนียม หรือ หน้าบาน อลูมิเนียม สามารถใช้ 6 มิลลิเมตร เราสามารถเปลี่ยนชนิดของกระจกได้ เป็น กระจกเทมเปอร์ หรือ กระจกลามิเนต กระจกตัดแสง เพื่อความปลอดภัย และแข็งแรงและความสวยงามของกระจกนั้นๆ 

กระจกที่ใช้ทำประตูหน้าต่าง
ภาพตัวอย่างแสดงกระจกที่ใช้ทำประตูหน้าต่าง

กระจกที่ใช้ กรุผนัง

กระจกที่ใช้กรุผนังทั่วๆไป ส่วนใหญ่ จะใช้ ขนาด แค่ 5-8 มิลลิเมตร แต่จะใช้ เป็น ลามิเนต หรือ กระจกเทมเปอร์แทน เพื่อความทน และ ยิ่งเราเลือกกระจกกรุผนังแบบที่เป็นเคลือบสี และ มีความหนามากขึ้น จะทำให้เราสามารถช่วย ลดตัวแสงที่เข้ามาในตัวอาคาร จะทำให้อาคารเราเย็น และ ไม่ร้อนหรือแสงแยงตามากเกินไป

ตัวอย่างกระจกที่ใช้กรุผนัง
ตัวอย่างกระจกที่ใช้กรุผนัง

กระจกที่ใช้ กรุผนัง แบบ เจียรปลี

กระจกเจียรปลี เป็นการ เจียรขอบมุมต่างๆ หรือ เน้น ขอบกระจกนั้นๆ โดยจะปาดกระจกให้มีลูกเล่น มีทั้งเจียรปี 2 ด้าน และเจียรปลี ดานเดียว นิยมใช้บางส่วนที่ต้องการใช้สวยงาม ไม่นิยมใช้พื้นที่ใหญ่ๆ เพราะ จะสามารถทำให้ ลายตาได้

ตัวอย่างกระจกที่ใช้ กรุผนัง แบบ เจียรปลี
ตัวอย่างกระจกที่ใช้ กรุผนัง แบบ เจียรปลี

กระจกหลังคาหรือกระจกทางเดินสกายไลท์

กระจกหลังคา ส่วนใหญ่ จะเจอบ้านที่แบบต้องการแสงสว่างเปิดโล่ง ซึ่งจะอยู่ที่สูง ถ้าแตกมาอาจจะอันตรายได้ ดังนั้นกระจกลักษณะนี้ต้องใช้ กระจกลามิเนต เพราะว่าเวลาเกิดอุบัติเหตุ กระจกแตก กระจกลามิเนต จะยังยึดติดอยู่สามารถ ไม่หล่นลงมา จะสามารถเปลี่ยนแผ่นได้ทัน ซึ่งส่วนใหญ่ จะ มี ราคาสูง เพราะ ติดตั้ง ยาก อาจจะต้องใช้ เครน ในการ ยกขึ้น

ตัวอย่างกระจกหลังคาหรือกระจกทางเดินสกายไลท์
ตัวอย่าง กระจกหลังคาหรือกระจกทางเดินสกายไลท์

จากตัวอย่างรูปนี้เราจะเห็นว่า ตัวหลังคาอาคารนี้จะเป็นลักษณะแบบโปร่งแสงโดยการใช้วัสดุกระจกในการปูหลังคาทั้งหมด ซึ่งวัสดีที่ใช้ ควรจะเป็นกระจกลามิเนต (Laminate Glass) เพราะ กระจกลามิเนตนั้น นอกจากจะแข็งแรงแล้ว เวลาที่แตก ตัวที่ยึดตรงกลางระหว่างกระจก ทั้ง 2 ด้านนั้น หากด้านใดด้าน หนึ่ง แตก จะยังยึดอยู่ จะไม่ร่วงหล่นมาที่พื้น

กระจกสำหรับทำหน้าบานตู้

กระจกที่ทำหน้าบ้านตู้ จะแบ่งเป็น 2 ประเภท ระหว่าง แบบ มี กรอบ กับ บาน เปลือย ส่วนใหญ่ แบบมีกรอบ อลูมิเนียม หรือ กรอบบานไม้ จะ ใช้ ขนาดตั้งแต่ 5-6 มิลลิเมตร ส่วน ถ้าเป็นกระจกเปลือย บานใหญ่หน่อยอาจจะต้องใช้ ถึง 10 มม. เพื่อความแข็งแรง กระจกที่นิยมใช้ ก็จะเป็น กระจกใส กระจกลวดลาย กระจกเงาสี

ตัวอย่างกระจกสำหรับทำหน้าบานตู้
ตัวอย่างกระจกสำหรับทำหน้าบานตู้

จากรูปจะเป็นกระจกที่เอามาใช้กรุทำหน้าบานตู้แบบบานเลื่อน ซึ่ง การนำกระจกมาเล่นในส่วนนี้จะทำให้ ตัวห้องดูกว้างขึ้นและไม่รก ทั้งยังสามารถแต่งตัวในบริเวณนี้ได้อีกด้วย สำหรับตู้นี้ใช้ตัวกระจกธรรมดา 5-6 มิลลิเมตรก็เพียงพอ

กระจกสำหรับทำชั้นวางของ

การนำกระจกมาใช้ในส่วนของชั้นว่างของจะทำให้ ดู โปร่งโล่งมากขึ้นส่วนมากถ้าวางของไม่หนักเช่น ตู้โชว์ เล็กๆ มีซัพพอร์ต ข้างๆ ใช้แค่ประมาณ 5 มม. แต่ถ้าเราต้องการใช้รับของที่มีน้ำหนักมากๆ เราอาจจะ ใช้ 10 มิลลิเมตร ส่วนใหญ่นิยมใช้ กระจกนิรภัยเทมเอปร์ หรือ กระจกเคลือบสี

ตัวอย่างกระจกสำหรับสำหรับทำชั้นวางของ
ตัวอย่างกระจกสำหรับสำหรับทำชั้นวางของ

เราจะเห็นว่าขนาดของกระจกส่วนใหญ่จะขึ้นอยู่กับการใช้งาน ว่า เราจะใช้ส่วนไหน ถ้าเราต้องการความปลอดภัยมาก เราก็สามารถเลือกใช้ กระจกลามิเนต หรือ กระจกเทมเปอร์ แทน กระจกธรรมดาได้ เพื่อที่จะไม่ได้รับอันตราย เวลา กระจกแตก หรือ กระจกบาด สำหรับส่วนที่รับน้ำหนักมากๆ เราควรจะเลือกกระจกที่เป็นกระจก ค่อนข้าง หนา หน่อย เพราะว่าจะสามารถรับน้ำหนักได้เยอะ หรือว่าส่วนที่แสงแดดเข้าตัวอาคารร้อนๆ ถ้าเราเลือกกระจกที่หนาหน่อย และ ติดฟิล์มก็จะทำให้แสงผ่านเข้ามากระจกนั้นน้อยมากๆ เพื่อกันแสงแยงตาอีกด้วย

Kanatidesign
Kanatidesign

เราคือผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบ งานภายนอก งานภายใน บิ้วอิน

Articles: 53

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *